มูลนิธิชุมชนเกษตรนิเวศน์

AGROECOLOGY

ศรีนครลำดวนแห่งชาติพันธุ์กูย ชุมชนสุขภาวะลดเหล้าควบคุมอุบัติเหตุ

ชุมชนตำบลดวนใหญ่ตั้งอยู่ที่อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ที่นี่คือชุมชนเก่าแก่มีพื้นเพมาจากกลุ่มชาติพันธ์ชาวกูยมีลักษณะความเป็นชุมชนชาวนาเขตอีสานใต้ อาชีพและรายได้หลักมาจากเกษตรกรรมวิถีชีวิติความเป็นอยู่ยังยึดโยงกับวัฒนธรรมชาวกูยผ่านพิธีกรรมการรำลึกตากะจะ (พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน) และผสมผสานวัฒนธรรมประเพณีชุมชนลาวและเขมรด้วยบุญประเพณีฮีตสิบสองครองสิบสี่ บุญข้าวจี่ บุญเผวส บุญสงกรานต์ บุญบั้งไฟ บุญเข้าพรรษา เป็นต้น เนื่องจากเป็นชุมชนเกษตรกรรมเหมือนชาวอีสานทั่วไปซึ่งมีบุคลิกแบบสนุกสนานมีการดื่มกินสุราเป็นปกติ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงเป็นหมู่บ้านแบบเมืองสมัยใหม่มีการโฆษณากระตุ้นการบริโภคการดื่มแอลกอฮอล์ในขณะที่ชุมชนยังไม่มีระบบหรือมาตรการใดๆ ในการควบคุมป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ ปัญหาที่ตามมาคือทัศนคติในการดื่มสุราเปลี่ยนไปจากอดีต มีการดื่มในปริมาณที่มากขึ้น เกิดนักดื่มหน้าใหม่อายุน้อยก่อให้เกิดปัญหาการทะเลาะวิวาท เกิดอุบัติเหตุทางถนนจากการดื่มสุรามากขึ้น เริ่มมีปัญหาครอบครัวแตกแยก การสูญเสียเวลาสูญเสียอาชีพและขาดรายได้และภาวะสิ้นเปลืองจากการดื่มเหล้าในงานบุญ เป็นต้น จึงเป็นที่มาของการทำงานสำรวจค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการจัดงานศพและพบว่าค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เกิดจากค่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉลี่ยประมาณ ๓๐,๐๐๐–๗๐,๐๐๐ บาทต่องาน นับเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากรวมถึงเกิดปัญหาต่อเนื่องคือเล่นการพนันในงานศพ    

จากบทบาทของผู้นำท้องที่ท้องถิ่นที่ตระหนักในปัญหาและเห็นผลกระทบจากสภาพการดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรในชุมชนตำบล จึงทำให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดวนใหญ่และคณะทำงานตำบลต้องปรึกษาหารือกันและจัดให้มีการประชุมประชาคมตำบลเพื่อหารือการรณรงค์ควบคุมการบิโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการพนันในงานศพโดยเริ่มทำงานรณรงค์ “งานศพปลอดเหล้าปลอดการพนัน” แต่เนื่องจากระบบงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลมีข้อจำกัดมากจึงต้องแสวงหาหน่วยงานและภาคีมาสนับสนุนและตัดสินใจเข้าร่วมเป็นเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ (ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเครือข่ายลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อการสร้างสุขภาวะ สสส. สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน) และได้รับการสนับสนุนโครงการลดเมาเพิ่มสุขสี่สร้างหนึ่งพัฒนาพาชุมชนลดเหล้าลดอุบัติเหตุมาดำเนินการ โดยมีการประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบล วัด โรงเรียนในชุมชน ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ชมรมผู้สูงอายุ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในชุมชนเพื่อสร้างภาคีความร่วมมือพัฒนาขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมการลดละเลิกดื่มแอลกอฮอล์ เริ่มจากการจัดทำบัญชีครัวเรือนและจัดเก็บระบบข้อมูลระดับตำบลโดยใช้โปรแกรม Thailand Community Network Appraisal  Program–TCNAP ด้วยการระดมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและนำใช้ข้อมูลที่ได้ไปสู่การจัดการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับความต้องการและวิถีชีวิตชุมชน การแก้ปัญหาจึงเริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจนมากขึ้นเป็นระยะ

  

จากบทบาทของผู้นำท้องที่ท้องถิ่นที่ตระหนักในปัญหาและเห็นผลกระทบจากสภาพการดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรในชุมชนตำบล จึงทำให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดวนใหญ่และคณะทำงานตำบลต้องปรึกษาหารือกันและจัดให้มีการประชุมประชาคมตำบลเพื่อหารือการรณรงค์ควบคุมการบิโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการพนันในงานศพโดยเริ่มทำงานรณรงค์ “งานศพปลอดเหล้าปลอดการพนัน” แต่เนื่องจากระบบงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลมีข้อจำกัดมากจึงต้องแสวงหาหน่วยงานและภาคีมาสนับสนุนและตัดสินใจเข้าร่วมเป็นเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ (ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเครือข่ายลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อการสร้างสุขภาวะ สสส. สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน) และได้รับการสนับสนุนโครงการลดเมาเพิ่มสุขสี่สร้างหนึ่งพัฒนาพาชุมชนลดเหล้าลดอุบัติเหตุมาดำเนินการ โดยมีการประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบล วัด โรงเรียนในชุมชน ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ชมรมผู้สูงอายุ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในชุมชนเพื่อสร้างภาคีความร่วมมือพัฒนาขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมการลดละเลิกดื่มแอลกอฮอล์ เริ่มจากการจัดทำบัญชีครัวเรือนและจัดเก็บระบบข้อมูลระดับตำบลโดยใช้โปรแกรม Thailand Community Network Appraisal  Program–TCNAP ด้วยการระดมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและนำใช้ข้อมูลที่ได้ไปสู่การจัดการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับความต้องการและวิถีชีวิตชุมชน การแก้ปัญหาจึงเริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจนมากขึ้นเป็นระยะ    

คณะทำงานลดเหล้าสร้างสุของค์การบริหารส่วนตำบลดวนใหญ่ พยายามทำงานสร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างบุคคลต้นแบบในการลดละเลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ด้วยการจัดกิจกรรมชักชวนให้บุคคลทั้งผู้นำท้องที่   ท้องถิ่นคณะผู้บริหาร พนักงาน เจ้าหน้าที่ ร่วมปฏิญาณตนงดดื่มดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเข้าพรรษาเพื่อเป็นแบบอย่างใน  การลดเมาเพิ่มสุข สร้างเส้นทางปลอดภัยลดเพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล ๗ วันอันตราย   ในช่วงปีใหม่และสงกรานต์ มีกิจกรรมทำความสะอาด ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณข้างถนนสายหลัก ปรับปรุงไฟส่องสว่าง    ติดตั้งกระจกโค้ง วางสัญลักษณ์จุดเสี่ยงจุดอันตราย ตั้งจุดบริการประชาชนเพื่อลดความเสียงบนท้องถนน สร้างมาตรการทางสังคมควบคุมแอลกอฮอล์ ด้วยการส่งเสริมร้านค้าคุณธรรมด้วยการนำ พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.๒๕๕๑ มาสร้างความเข้าใจ กำหนดมาตรการสถาบันการเงินชุมชนสนับสนุนบุคคลเลิกเหล้าโดยมอบ ทุนจัดการงานศพ ๒,๐๐๐ บาทต่องาน กำหนดมาตรการพื้นที่ปลอดภัยลานกีฬาปลอดเหล้า เป็นต้น พัฒนานวัตกรรม ช่วยเลิกดื่มแอลกอฮอล์และลดอุบัติเหตุในชุมชน ด้วยการพัฒนาระบบส่งเสริมสนับสนุนเงินทุนประกอบสัมมาชีพ  สำหรับผู้ที่เลิกดื่มแอลกอฮอล์ การสร้างด่านครอบครัวตักเตือนและแนะนำห้ามปรามควบคุมเยาวชนและทำความ  เข้าใจผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นการการสกัดปัญหาจากต้นทางคือครอบครัว เป็นต้น   

 

ชุมชนตำบลดวนใหญ่ “เมืองศรีนครลำดวนแห่งชาติพันธุ์กูย ชุมชนสุขภาวะลดเหล้าควบคุมอุบัติเหตุ” จากตำนานเล่าขานและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันว่าเคยเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวนและต่อมาสถาปนาให้เป็นเมืองนครลำดวนและเมืองคูขันธ์ จึงมีความเกี่ยวพันธ์กับประวัติศาสตร์จังหวัดศรีสะเกษ มีการค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์คือคูน้ำรอบเมืองสามล้อมรอบชุมชนปัจจุบันยังคงหลักฐานให้เห็นรวมทั้งมีการขุดค้นวัตถุโบราณในบริเวณหมู่บ้าน มีศาลเจ้าพ่อพะละงุมตั้งอยู่กลางชุมชนในบริเวณเดียวกับอนุสาวรีย์ตากะจะ หรือ พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (เจ้าเมืองขุขันธ์) ก่อนจะมีการย้ายเมืองแห่งนี้ไปตั้งอยู่พื้นที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันมีฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลดวนใหญ่ ดูแลพื้นที่ ๑๘ หมู่บ้าน ครอบคลุมประชากร๑,๗๖๗ ครัวเรือน หรือประชากรประมาณ ๗,๒๐๑ คน มีสถาบันการเงินชุมชนที่เข้มแข็ง มีกลุ่มอาชีพมากมาย ชุมชนท้องถิ่นแห่งนี้มีศักยภาพในการบริหารจัดการตนเองสูงและสามารถระดมทรัพยากรและการมีส่วนร่วมได้อย่างมีพลัง ปัจจุบันเป็นศูนย์ประสานงานการขับเคลื่อนการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อลดอุบัติเหตุ (focal point) มุ่งมั่นให้สำคัญในการสร้างจิตสำนึกชุมชนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถพัฒนาศักยภาพและสร้างกลไกของชุมชนท้องถิ่นให้ลุกขึ้นมาทำหน้าที่ในการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และลดอุบัติ รวมทั้งพยายามขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะในการควบคุมการเกิดอุบัติเหตุจราจรจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชุมชนตำบลดวนใหญ่คืออีกหนึ่งตัวอย่างของชุมชนสุขภาวะและชุมชนจัดการตนเองที่ยืนหยัดอยู่บนรากฐานและทุนทางสังคมของตัวเองและเป็นอีกหนึ่งเสียงสะท้อนถึงความพร้อมของชุมชนท้องถิ่นในสังคมไทย บนคำถามที่ยังไร้คำตอบที่ว่า… ได้เวลากระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นแล้วหรือยัง ?        

 

caef.new : รายงาน 

Leave your comment here