มูลนิธิชุมชนเกษตรนิเวศน์

AGROECOLOGY

แถลงการณ์การประชุมนานาชาติเรื่องเกษตรนิเวศ (2)

2015-02-26 10.51.16a

ขยายขนาดของระบบเกษตรนิเวศ สร้างระบบอาหารท้องถิ่น และท้าทายธุรกิจที่มุ่งผลกำไรในระบบอาหารของเรา ความเป็นภารดรภาพระหว่างครอบครัว และประชาชนทั้งในชนบทและเมือง เป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่ง 

ณ ศุนย์ ไนลีนิ (Nyeleni)  ประเทศมาลี :  28 กุมภาพันธ์ 2558

เสาหลักและหลักการพื้นฐานของระบบนิเวศเกษตร   

เกษตรนิเวศไม่ใช่ชุดเทคโนโลยี แต่เป็นวิถีชีวิต และไม่ใช่เครื่องมือสำเร็จรูปที่จะนำไปใช้ให้ได้ผลในทุกๆที่  ถึงแม้จะบอกว่า ตั้งอยู่บนหลักการเกษตรนิเวศ  แต่เมื่อนำไปใช้ในพื้นที่หลากหลายแบบ ก็ต้องมีวิธีปฏิบัติที่ต่างกันออกไปให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละท้องถิ่น  โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเคารพต่อโลก  และค่านิยมพื้นฐานของสังคมนั้นๆ  ระบบเกษตรนิเวศต้องสร้างขอบเขตและพลวัตทางสังคมที่ให้โอกาสแก่เยาวชนในชนบท และให้คุณค่ากับความเป็นผู้นำของสตรี

การปฏิบัติที่มีประสิทธิผลของระบบเกษตรนิเวศ (การปลูกพืชแซม  การประมงพื้นบ้าน การเลี้ยงสัตว์แบบปล่อย  การปลูกพืชผสมผสาน ปลูกต้นไม้  ปศุสัตว์ และปลา  ปุ๋ยอินทรีย์  ปุ๋ยหมัก  เมล็ดพันธุ์และพันธุ์สัตว์พื้นบ้าน  เป็นต้น ) นั้นอยู่บนหลักการ การหมุนเวียนธาตุอาหาร การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีพลวัต  และการอนุรักษ์พลังงานในหลายๆระดับ  ระบบเกษตรนิเวศ จะช่วยลดการซื้อปัจจัยการผลิตจากภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมหาศาล  ซึ่งในระบบเกษตรนิเวศไม่ต้องใช้สารพิษทางการเกษตร (Agro toxics)   ฮอร์โมนสังเคราะห์ (Artificial) หรือพืชตัดต่อพันธุกรรม (GMOs)

เขตภูมินิเวศ  คือเสาหลักที่เป็นรากฐานสำคัญในระบบเกษตรนิเวศ  ประชาชนและชุมชนมีสิทธิที่จะรักษาไว้ซึ่ง จิตวิญญาณที่เป็นความผูกพันระหว่างพวกเขากับผืนดิน  พวกเขามีสิทธิในการครอบครอง  พัฒนา  ควบคุม  และสร้างโครงสร้างเกี่ยวกับประเพณีทางสังคมขึ้นมาใหม่ เพื่อบริหารจัดการด้านนโยบาย  และด้านสังคมในผืนดินและอาณาเขตของพวกเขา  ซึ่งแสดงถึงการยอมรับ กฎหมายจารีต  ประเพณี  ระบบการถือครอง  และสถาบันต่างๆที่ตั้งขึ้น ที่บ่งบอกถึงการตัดสินใจด้วยตนเอง และการมีอิสระในการปกครองตนเองของประชาชน

สิทธิร่วม และการเข้าถึงทรัพยากรพื้นฐาน  เป็นอีกหนึ่งพื้นฐานหนึ่งของระบบเกษตรนิเวศ  พวกเราได้ให้คนเข้าไปใช้ทรัพยากรเพื่อได้เลี้ยงดูกลุ่มคนที่หลากหลาย และพวกเราก็มีระบบจารีตประเพณีที่มีคุณค่า ไว้คอยควบคุมการใช้ทรัพยากรที่เราต้องอนุรักษ์และเพียรสร้างความเข้มแข็งให้มากยิ่งขึ้น

 องค์ความรู้และวิธีการเรียนรู้ของประชาชน เป็นปัจจัยพื้นฐานของระบบเกษตรนิเวศ  พวกเราพัฒนาวิธีการเรียนรู้ผ่านการพูดคุยร่วมกัน  กระบวนการเรียนรู้ของเรามีทั้งแบบแนวราบ ซึ่งขึ้นอยู่บนพื้นฐานของการศึกษาที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง  ในศูนย์ฝึกอบรม  ในภูมินิเวศของเรา  เยาวชนคนหนุ่มสาวก็แสวงหาความรู้จากผู้ใหญ่  จากประเพณีวัฒนธรรม จากปฎิทินพิธีกรรม  และงานเทศกาลต่างๆ ซึ่งเป็นแก่นที่ได้มาจากโลกทัศน์ของพวกเราเอง  ระบบเกษตรนิเวศคือการพัฒนาผ่านนวัตกรรมและการวิจัย  ในเรื่องพืชผล  การคัดเลือกปศุสัตว์ รวมทั้งการผสมพันธุ์สัตว์ ที่เป็นของพวกเราเอง

ครอบครัว  ชุมชน  หมู่คณะ  องค์กร และกลุ่มความเคลื่อนไหวต่าง ๆ เปรียบได้กับดินที่อุดมสมบูรณ์ที่ทำให้ระบบเกษตรนิเวศเจริญงอกงาม  กลุ่มที่มีการจัดการตนเอง และมีการลงมือปฏิบัติ  แล้วทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะขยายขนาดของระบบเกษตรนิเวศ สร้างระบบอาหารท้องถิ่น และท้าทายธุรกิจที่มุ่งผลกำไรในระบบอาหารของเรา   ความเป็นภารดรภาพระหว่างครอบครัว และประชาชนทั้งในชนบทและเมือง เป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่ง

พวกเราแบ่งปันความเชื่อมโยงระหว่างจิตวิญญาณกับแผ่นดิน และสายใยแห่งชีวิต  เรารักแผ่นดินและประชาชนของเรา  และถ้าหากปราศจากสองสิ่งนี้แล้วการดำเนินงานด้านเกษตรนิเวศก็จะไม่ประสบผลสำเร็จได้  มาต่อสู้เพื่อสิทธิของพวกเราเพื่อการเลี้ยงดูโลกใบนี้  พวกเราขอปฏิเสธการกระทำทุกชนิดที่เป็นการเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นสินค้า ด้วยชีวิตของเรา

การมีอิสระในการบริหารจัดการตนเองของระบบเกษตรนิเวศจะเข้าไปแทนที่การควบคุมของตลาดการค้าโลก  และสร้างการบริหารจัดการตนเองโดยชุมชน  ซึ่งต้องสร้างตลาดให้เป็นรูปเป็นร่างอีกครั้งบนหลักการเศรษฐกิจแบบภารดรภาพ และหลักจริยธรรมในการรับผิดชอบทั้งด้านการผลิตและการบริโภค   ส่งเสริมการให้สินค้าไปถึงมือผู้บริโภคโดยตรง ในเวลาอันรวดเร็วและเป็นธรรม  ซึ่งหมายถึงความโปร่งใสระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งตั้งอยู่บนความเท่าเทียมกันในการแบ่งปันความเสี่ยงและผลกำไร

ระบบเกษตรนิเวศเป็นเรื่องเกี่ยวกับนโยบาย ที่ท้าทายพวกเราในการที่จะเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจในสังคม   เราจำเป็นต้องควบคุมเมล็ดพันธุ์และความหลากหลายทางชีวภาพ  พื้นดินและอาณาเขต  น้ำ  ความรู้และวัฒนธรรม รวมทั้งกฎ กติกา ให้มาอยู่ในมือของพวกเราผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เลี้ยงดูโลก

965_na

ยุทธศาสตร์

1) ส่งเสริมการผลิตโดยให้ระบบเกษตรนิเวศ ผ่านนโยบาย

-สนับสนุนการหลอมรวมในเชิงภูมินิเวศ ซึ่งหมายรวมถึงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และทิศทางการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม

-ประกันการเข้าถึงที่ดิน และแหล่งทรัพยากรสำหรับการลงทุนระยะยาวของผู้ผลิตรายย่อย

-ประกัน และให้ความเชื่อมั่นในเรื่องวิธีบริหารจัดการทรัพยากร การผลิตอาหาร  นโยบาย

-การจัดหา จัดจ้าง  การวางโครงสร้างพื้นฐานของเมืองและชนบท  รวมถึงการขยายสู่ตัวเมือง

-ส่งเสริมการกระจายอำนาจ และกระบวนการมีส่วนร่วมในการแวงแผนในระดับท้องถิ่นที่มีความ เชื่อมโยมกับการปกครองส่วนท้องถิ่นและเจ้าพนักงาน ผู้รับผิดชอบ

-ส่งเสริมหลักการด้านสุขภาพ และอนามัยของผู้ประกอบการด้านอาหารขนาดย่อยในระบบเกษตรนิเวศ

-ส่งเสริมนโยบายการผสานงานด้านสุขภาพและโภชนาการ ระหว่างระบบเกษตรนิเวศและการแพทย์พื้นบ้าน

-สร้างความมั่นใจเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ให้สามารถเข้าถึงทุ่งเลี้ยงสัตว์ เส้นทางอพยพของสัตว์  และแหล่งน้ำ   รวมถึงการได้รับบริการเคลื่อนที่ต่างๆ  เช่น  ด้านสุขภาพ  การศึกษา และการบริการเกี่ยวกับโรคของสัตว์

-สร้างความมั่นใจว่าสิทธิของท้องถิ่นจะถูกตราเป็นกฎหมาย

-สร้างความมั่นใจในเรื่องนโยบายเมล็ดพันธุ์ โดยการรับประกันสิทธิของเกษตรกร  ชนพื้นเมือง ในการใช้  แลกเปลี่ยน  เพาะพันธุ์  คัดเลือกและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ของพวกเขาเอง

-เก็บรักษา และกระตุ้นให้คนหนุ่มสาวมีความสนใจเกี่ยวกับการผลิตอาหารในระบบเกษตรนิเวศโดยผ่านการสร้างความเข้มแข็งในการเข้าถึงที่ทำกิน และแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ  รายได้ที่เป็นธรรม  การแลกเปลี่ยนและการส่งผ่านความรู้

-สนับสนุนการผลิตแบบเกษตรนิเวศ ทั้งในเมือง และชานเมือง

-ปกป้องสิทธิ์ของชุมชน ในการครอบครอง การล่า  และกวาดต้อนสัตว์ป่าตามธรรมเพณี ที่เคย ปฏิบัติกันมา

-จัดทำนโยบายรับรองสิทธิของชุมชนที่ประกอบอาชีพประมง

-จัดทำแนวทางการครอบครองและแนวทางการทำประมงรายย่อย  (the Tenure Guidelines and Small-scale Fisheries Guidelines)

2) การแบ่งปันความรู้

-การแลกเปลี่ยนในแนวราบ (ระหว่างเกษตรกรกับเกษตรกร ชาวประมงกับชาวประมง,ผู้บริโภคกับผู้บริโภค) และในแนวดิ่ง  เช่น การแลกเปลี่ยนระหว่างรุ่นต่อรุ่น  และระหว่างความคิดแบบดั้งเดิมและแนวคิดแบบใหม่ โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มของสตรีและเยาวชนเป็นอันดับแรกๆ

-ในการทำวิจัย ประชาชนเป็นผู้ควบคุม วาระ วัตถุประสงค์  และระเบียบวิธีการวิจัย

-จัดประสบการณ์อย่างเป็นระบบเพื่อจะได้เกิดการเรียนรู้จากการสร้างความทรงจำทางประวัติศาสตร์

3) ตระหนักถึงบทบาทที่ผู้หญิงเป็นศูนย์กลาง

-ต่อสู้ให้เกิดความเท่าเทียมของสิทธิสตรีในทุกๆสิ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบเกษตรนิเวศ รวมถึง คนงาน และสิทธิแรงงาน  การเข้าถึงสิทธิพื้นฐาน  การเข้าถึงตลาดได้โดยตรงและการควบคุมรายได้

4) เสริมสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น

-ส่งเสริมตลาดท้องถิ่น

-สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจทางเลือก รวมทั้งสถาบันและกลไกที่สนับสนุน

-ก่อรูปตลาดอาหารขึ้นมาใหม่ โดยผ่านความสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ระหว่างการผลิตและการบริโภคแบบใหม่

-เชื่อมโยงประสบการณ์ของเศรษฐกิจแบภารดรภาพ

5) พัฒนาและเผยแพร่วิสัยทัศน์ของเกษตรนิเวศ

-พัฒนาแผนชุมชนเพื่อให้มีวิสัยทัศน์ในด้านระบบเกษตรนิเวศ

-ส่งเสริมรูปแบบการดูแลสุขภาพโภชนาการผ่านระบบเกษตรนิเวศ

-ส่งเสริมการเข้าถึงเรื่องราว แนวคิดภูมินิเวศ วิธีการที่เกี่ยวกับระบบเกษตรนิเวศ

-ส่งเสริมการปฏิบัติงานกับเยาวชน เพื่อเป็นการฟื้นฟูวิสัยทัศน์เกี่ยวกับระบบเกษตรนิเวศ

-ส่งเสริมระบบเกษตรนิเวศในฐานะที่เป็นเครื่องมือหลักในการลดความสิ้นเปลืองทางอาหารและความสูญเสียของระบบการผลิตอาหาร

 6) การสร้างพันธมิตร 

-รวบรวมและสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรพันธมิตรที่มีอยู่ในรูปของคณะกรรมการวางแผนระดับนานาชาติเพื่ออธิปไตยทางอาหาร  (The International Planning Committee for Food  Sovereignty – IPC)

-ขยายความร่วมมือไปยังกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมอื่นๆ องค์กรวิจัยและสถาบันต่างๆ

7) การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งพันธุกรรม 

-ปกป้อง เคารพ  และจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ

-นำกลับมาซึ่งสิทธิในการควบคุมเมล็ดพันธุ์ และสิทธิของผู้ผลิตในการคุ้มครองปัจจัยการผลิต และสิทธิที่จะให้  ขาย และแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ของตนเอง รวมไปถึงการเพาะพันธุ์สัตว์ด้วย

-ให้ชุมชนชาวประมงมีบาทบาทเป็นศูนย์กลางในการควบคุมสัตว์ทะเลและสัตว์น้ำจืด

8) ทำให้โลกเย็นลงและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

-ทำให้รัฐบาล และสถาบันต่างๆในระดับนานาชาติยอมรับว่าเกษตรนิเวศเป็นทางออกเบื้องต้นที่จะแก้ปัญหาและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกได้

9) ติเตียนและต่อสู้กับกิจการที่แสวงหาผลกำไร และสถาบันที่ยึดครองระบบเกษตรนิเวศ

-ต่อสู้กับกิจการที่แสวงหาผลกำไรและสถาบันที่มุ่งจะให้ระบบเกษตรนิเวศเป็นช่องทางในการส่งเสริมการตัดต่อพันธุกรรม พืช  สัตว์  การเกษตรแบบเคมี-สารพิษ และกระบวนการผลิตอาหารขยะ ว่าเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นความยั่งยืนทางอาหาร

-เปิดโปงองค์กรที่แสวงหาผลกำไรที่มีผลประโยชน์อยู่เบื้องหลัง ที่มาในรูปของการแก้ปัญหาเชิงเทคนิค  เช่น การเกษตรกรรมที่เท่าทันกับสภาพภูมิอากาศ (Climate-smart agriculture) การเกษตรแบบประณีตยั่งยืน (Sustainable intensification) และอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

-ต่อสู้กับระบบการเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นสินค้าและการส่งเสริมธุรกิจทางการเงินที่แสวงหาผลประโยชน์จากระบบนิเวศจากรูปแบบเกษตรนิเวศ

พวกเราได้สร้างระบบเกษตรนิเวศผ่านการริเริ่มและการดิ้นรนอย่างมากมาย  และพวกเรามีสิทธิตามกฎหมายที่จะดำเนินกิจกรรมนี้ต่อไปในอนาคต  ผู้กำหนดนโยบายไม่สามารถจะดำเนินระบบเกษตรนิเวศให้คืบหน้าได้หากปราศจากพวกเรา   ดังนั้นพวกเขาต้องเคารพ  และสร้างความแข็งแกร่งให้กับการเคลื่อนไหวของพวกเรา  มากกว่าการที่จะยังไปให้การสนับสนุนผู้ที่ทำลายพวกเรา

1430450507240a

พูลสมบัติ นามหล้า : ผู้แปล


Leave your comment here